โทรศัพท์ดิจิตอลและ Voice over IP ของ เครื่องโทรศัพท์

การประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ในปี ค.ศ. 1947ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ และในเครือข่ายการส่งข้อมูลทางไกล ด้วยการพัฒนาระบบ สวิตชิ่งแบบอิเล็กทรอนิกส์ในปี ค.ศ. 1960, โทรศัพท์ค่อยๆพัฒนาไปสู่​​โทรศัพท์ดิจิตอลที่ มีความสามารถสูงขึ้น คุณภาพดีขึ้น และค่าใช้จ่ายของเครือข่ายที่น้อยลง

การพัฒนาวิธีการสื่อสารข้อมูลดิจิตอลเช่น โพรโทคอลต่างๆที่ใช้สำหรับอินเทอร์เน็ตทำให้สามารถแปลงเสียงให้อยู่ในรูปดิจิทัล และส่งมันเป็นข้อมูลแบบเรียลไทม์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้เกิด Internet Protocol (IP) ของโทรศัพท์หรือที่รู้จักกันว่าเป็น voice over Internet Protocol (VoIP) ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่า VoIP เป็นเทคโนโลยีที่มาแทนที่โครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายโทรศัพท์แบบดั้งเดิมได้อย่างรวดเร็ว

เมื่อมกราคม 2005, ผู้ใช้บริการโทรศัพท์ในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จำนวนสูงถึง 10 % ได้ เปลี่ยนมาใช้บริการโทรศัพท์แบบดิจิทัลนี้ ในเดือนเดียวกัน บทความของนิวสวีคชี้ให้เห็นว่า โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตอาจจะ "สิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่อไป" ในปี 2006 บริษัทหลายแห่งให้บริการ VoIP กับผู้บริโภคและธุรกิจ

เครื่องโทรศัพท์ IP ทำงานด้วยฮาร์ดแวร์แป้นโทรออกแบบกดปุ่ม

จากมุมมองของลูกค้า, ระบบโทรศัพท์ IP ใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบนด์วิธสูง และต้องการอุปกรณ์สถานที่ลูกค้า (อังกฤษ: customer premises equipment) หรือ CPE ที่มีลักษณะพิเศษในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต, หรือผ่านเครือข่าย​​ข้อมูลส่วนตัวอื่นๆที่ทันสมัย จริงๆแล้ว อุปกรณ์ของลูกค้าอาจจะเป็นเพียง อะแดปเตอร์โทรศัพท์แอนะล็อก ( ATA ) ซึ่งใช้เชื่อมต่อเครื่องโทรศัพท์แบบอนาล็อกแบบเก่าเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย IP, หรืออาจเป็นเครื่องโทรศัพท์ไอพีที่มีเทคโนโลยีเครือข่ายและอินเตอร์เฟซที่สร้างขึ้นในชุดตั้งโต๊ะ ที่ทำงานเหมือนโทรศัพท์ที่คุ้นเคยแบบเดิม

นอกจากนี้ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์จำนวนมาก และผู้ประกอบการโทรศัพท์ ได้จัดหาซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน softphone ที่จำลองคอมพิวเตอร์ให้เป็นเครื่องโทรศัพท์โดยการใช้ ไมโครโฟนและหูฟังเสียงหรือลำโพงที่แนบมากับซอฟต์แวร์ด้วย

แม้จะมีคุณสมบัติและสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆของโทรศัพท์ไอพี บางอย่างอาจจะเป็นข้อเสีย ที่โดดเด่นเมื่อเทียบกับระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิม. ยกเว้นในกรณีที่ของชิ้นส่วนเครื่องโทรศัพท์ IP ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งจ่ายไฟสำรองฉุกเฉินหรือแหล่งพลังงานอื่นๆในสถานที่ลูกค้า, โทรศัพท์ IP จะสิ้นสุดสภาพการทำงานในระหว่างไฟฟ้าดับซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในกรณีฉุกเฉินหรือภัยพิบัติ เครื่องโทรศัพท์แบบดั้งเดิมที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย PSTN เก่าจะไม่พบปัญหานี้ เนื่องจากพวกมันจะถูกขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ของบริษัทโทรศัพท์ที่มีไฟสำรองฉุกเฉินติดตั้งอยู่ในเกือบทุกชุมสาย ซึ่งจะทำงานต่อไปแม้ว่าจะมีปัญหาไฟฟ้าดับเป็นเวลานาน

อีกปัญหาหนึ่งของการให้บริการแบบอินเทอร์เน็ตก็คือ การขาดสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ทางกายภาพที่แน่นอน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการจัดเตรียมการให้ความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน เช่น ตำรวจดับเพลิงหรือรถพยาบาลเมื่อมีคนเรียกใช้ เว้นแต่จะได้ปรับปรุงสถานที่ตั้งทางกายภาพของโทรศัพท์ IP ที่ผู้ใช้ได้ลงทะเบียนเอาไว้ หลังจากที่ย้ายไปอยู่อาศัยในที่แห่งใหม่ บริการฉุกเฉินจะสามารถส่งความช่วยเหลือไปยังสถานที่ที่ถูกต้อง

สายโทรศัพท์แบบอยู่กับที่ต่อประชากร 100 คนระหว่าง 1997-2007

ใกล้เคียง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เครื่องบินขับไล่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เครื่องคิดเลข เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: เครื่องโทรศัพท์ http://books.google.com/books?id=KiJJ7Bp-xtcC&prin... http://books.google.com/books?id=SnjGRDVIUL4C&prin... http://books.google.com/books?id=ZmR0MOQAu0UC&prin... http://books.google.com/books?id=b7M5AnlZJYcC&prin... http://www.dougrice.plus.com/dougnapTheory/index.h... http://www.sparkmuseum.com/TELEPHONE.HTM http://www.wiley.com/WileyCDA/ http://www.wiley.com/WileyCDA/Section/id-301635.ht... http://www.1911encyclopedia.org/Telephone http://www.porticus.org/bell/capsule_bell_system.h...